เมนู

บริสุทธิ์ด้วยการพิจารณาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยนัยมีอาทิว่า ภิกษุ
ย่อมพิจารณาโดยแบบคายแล้วเสพจีวร ดังนี้. เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึง
กล่าวว่า แต่ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่ทำสติในการรับ ทำแต่ในการ
บริโภค. การบริโภคปัจจัยของพระเสขะ 7 จำพวก ชื่อว่า ทายัชชบริโภค.
จริงอยู่ พระเสขะ 7 จำพวกนั้น เป็นพระโอรสของพระผู้มีพระภาคเจ้า;
เพราะฉะนั้น จึงเป็นทายาทแห่งปัจจัยอันเป็นของพระพุทธบิดา บริโภคอยู่
ซึ่งปัจจัยเหล่านั้น.
ถามว่า ก็พระเสขะเหล่านั้น บริโภคปัจจัยของพระผู้มีพระภาคเจ้า
หรือบริโภคปัจจัยของพวกคฤหัสถ์ ?
ตอบว่า ปัจจัยเหล่านั้น แม้อันพวกคฤหัสถ์ถวาย ก็จริง. แต่ชื่อว่า
เป็นของพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้
เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า พระเสขะเหล่านั้น บริโภคปัจจัยของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า. ก็ธรรมทายาทสูตร เป็นเครื่องสาธกในการบริโภค
ปัจจัยของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้.
การบริโภค ของพระขีณาสพทั้งหลาย ชื่อว่า สามีบริโภค. จริงอยู่
พระขีณาสพทั้งหลายเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นเจ้าของบริโภคเพราะล่วงความ
เป็นทาสแห่งตัณหาได้แล้ว. บรรดาการบริโภคทั้ง 4 นี้ สามีบริโภคและ
ทายัชชบริโภค ย่อมควรแม้แก่ภิกษุทุกจำพวก. อิณบริโภค ไม่สมควร
เลย. ในไถยบริโภค ไม่มีคำจะพูดถึงเลย.

[อธิบายว่าการบริโภคอีก 4 อย่าง]


การบริโภคแม้อื่นอีก 4 คือ ลัชชีบริโภค อลัชชีบริโภค ธัมมิย-
บริโภค อธัมมิยบริโภค. บรรดาการบริโภค 4 อย่างนั้น การบริโภค

ของอลัชชีภิกษุร่วมกับลัชชีภิกษุ สมควร. ไม่พึงปรับอาบัติเธอ. การ
บริโภคของลัชชีภิกษุร่วมกับอลัชชีภิกษุ ย่อมควรตลอดเวลาที่เธอยังไม่รู้.
เพราะว่าธรรมดาภิกษุผู้เป็นอลัชชีมาแต่แรกไม่มี. เพราะฉะนั้น พึงว่า
กล่าวเธอในเวลาทราบว่าเธอเป็นอลัชชีว่า ท่านทำการละเมิดในกายทวาร
และวจีทวาร, การทำนั้น ไม่สมควรเลย, ท่านอย่าได้กระทำอย่างนี้.
ถ้าเธอไม่เอื้อเฟื้อยังคงกระทำอยู่อีก, ถ้ายังขืนทำการบริโภคร่วมกับอลัชชี
นั้น, แม้เธอก็กลายเป็นอลัชชีไปด้วย. ฝ่ายภิกษุใด กระทำการบริโภค
ร่วมกับอลัชชี ผู้ซึ่งเป็นภาระของตน, แม้ภิกษุนั้น อันภิกษุอื่นเห็น
พึงห้าม, ถ้าเธอไม่ยอมงดเว้น, ภิกษุแม้รูปนี้ ก็เป็นอลัชชีเหมือนกัน.
อลัชชีภิกษุแม้รูปเดียว ย่อมทำให้ภิกษุเป็นอลัชชีได้แม้ตั้งร้อยรูปอย่างนี้.
ชื่อว่าอาบัติในการบริโภคร่วมกันระหว่างอลัชชีกับอลัชชี ย่อมไม่มี. การ
บริโภคร่วมระหว่างลัชชีกับลัชชี เป็นเช่นเดียวกับขัตติยกุมารสองพระองค์
เสวยร่วมกันในสุวรรณภาชน์. การบริโภคเป็นธรรม และไม่เป็นธรรม
ผู้ศึกษาพึงทราบด้วยอำนาจแห่งปัจจัยนั่นแล.
ในการบริโภคเป็นธรรม และไม่เป็นธรรมนั้น พึงทราบวินิจฉัย
ดังต่อไปนี้:-
ถ้าแม้บุคคลก็เป็นอลัชชี แม้บิณฑบาตไม่เป็นธรรม, น่ารังเกียจ
ทั้ง 2 ฝ่าย. บุคคลเป็นอลัชชี แต่บิณฑบาตเป็นธรรม, ภิกษุทั้งหลาย
รังเกียจบุคคลแล้ว ไม่พึงรับบิณฑบาต. แต่ในมหาปัจจรี ท่านกล่าวไว้ว่า
คนทุศีล ได้อุเทศภัตเป็นต้นจากสงฆ์แล้ว ถวายแก่สงฆ์นั่นแล. อุเทศ-
ภัตเป็นต้นนี้ ย่อมควร เพราะเป็นไปตามที่เขาถวายนั่นเอง. บุคคลเป็น

ลัชชี บิณฑบาตไม่เป็นธรรม, บิณฑบาตน่ารังเกียจ ไม่ควรรับเอา.
บุคคลเป็นลัชชี แม้บิณฑบาตก็เป็นธรรม ย่อมสมควร.

[อธิบายการยกย่องและการบริโภคอีกอย่างละ 2]


ยังมีการยกย่อง 2 อย่าง และการบริโภค 2 อย่างอีก คือ การ
ยกย่องลัชชี 1 การยกย่องอลัชชี 1 ธรรมบริโภค 1 อามิสบริโภค 1,
ในการยกย่องและการบริโภคนั้น การยกย่องลัชชี แก่อลัชชี สมควร.
เธอไม่ควรถูกปรับอาบัติ. ก็ถ้าว่า ลัชชียกย่องอลัชชี ย่อมเชื้อเชิญด้วย
อนุโมทนา เชื้อเชิญด้วยธรรมกถา อุปถัมภ์ในสกุลทั้งหลาย, แม้อลัชชี
นอกนี้ ก็กล่าวสรรเสริญเธอในบริษัทว่า อาจารย์ของพวกเราย่อมเป็นผู้
เช่นนี้และเช่นนี้, ภิกษุนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมทำพระศาสนาให้เสื่อม
ลง คือ ให้อันตรธานไป.
ก็บรรดาธรรมบริโภคและอามิสบริโภค ในบุคคลใด อามิสบริโภค
สมควร, ในบุคคลนั้น แม้ธรรมบริโภค ก็สมควร. ท่านกล่าวไว้ (ใน
อรรถกถาทั้งหลาย) ว่า ก็คัมภีร์ใด ตั้งอยู่ในสุดท้าย จักฉิบทายไป โดย
กาลล่วงไปแห่งบุคคลนั้น, จะเรียนเอาคัมภีร์นั้นเพื่ออนุเคราะห์ธรรม
ควรอยู่. ในการอนุเคราะห์ธรรมนั้น มีเรื่องต่อไปนี้:-

[เรื่องเรียนคัณฐะจากคนเลวเพื่ออนุเคราะห์ธรรม]


ได้ยินว่า ในยุคมหาภัย ได้มีภิกษุผู้ชำนาญมหานิเทศเพียงรูปเดียว
เท่านั้น. ครั้งนั้น พระอุปัชฌะของพระติสสเถระ ผู้ทรงนิกาย 4 ชื่อว่า
มหาติปิฎกเถระ กล่าวกะพระมหารักขิตเถระว่า อาวุโสมหารักขิต ! เธอ
จงเรียนเอามหานิเทศในสำนักแห่งภิกษุนั่นเถิด. เธอเรียนว่า ได้ทราบว่า
ท่านรูปนี้เลวทราม ขอรับ ! กระผมจักไม่เรียนเอา.